บริการเสริม

รายการโปรแกรมของเรา

ผู้ป่วยหลังผ่าตัด (Post Operation)

ที่ วาริณ เนอร์สซิ่งโฮม เราไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเท่านั้น แต่เรายังได้รวบรวมทีมแพทย์และนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างครบถ้วน การจัดทำแผนการรักษาที่ปรับให้เข้ากับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนทั้งทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ การให้ข้อมูลและการฝึกฝนผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับการดูแลตนเองที่บ้านก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญ 

เพราะเราเชื่อว่าความเข้าใจและการรับฟังเป็นส่วนองค์ประกอบหนึ่งของกระบวนการฟื้นตัว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ต่อไปอย่างมั่นคงและมีคุณภาพทั้งนี้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่เข้ารับการดูแลรักษาที่ วาริณ เนอร์สซิ่งโฮม จะได้รับการดูแลอย่างครบวงจรและอบอุ่นจากทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์และนักกายภาพบำบัดที่ชำนาญ.

ตัวอย่างโปรแกรมการฝึก

โดยทุกกิจกรรมของเรา ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดที่รวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • Active Exercise (การออกกำลังกายด้วยตนเอง): กิจกรรมที่จะเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความคล่องตัวของคุณ!
  • Passive Exercise (การออกกำลังกายโดยผู้ช่วย): การทำกายภาพบำบัดโดยผู้ช่วยเพื่อเพิ่มความพร้อมของร่างกายของคุณ.
  • Stretching Exercise (การยืดกล้ามเนื้อ): ท่ายืดที่จะช่วยคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่น.
  • Strengthening Exercise (การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลัง): การฝึกกำลังเพื่อให้คุณมีกล้ามเนื้อแข็งแรงและพร้อมที่จะเริ่มกิจกรรมปกติ.
  • Mobilization (การขยับข้อต่อ): การทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและลดอาการตึงตัว.
  • Ultrasound (อัลตราซาวด์): เทคโนโลยีที่ใช้เสียงคลื่นเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มการไหลเวียนเลือด.
  • Cold Pack (แผ่นประคบเย็น): ใช้เพื่อลดอาการปวดและบรรเทาการอักเสบ.
  • Hot Pack (แผ่นประคบร้อน): เพื่อลดอาการปวดเรื้อรังและกระตุ้นการหายของร่างกาย.
  • Standing Balance Training (การฝึกการทรงตัวขณะยืน): ช่วยเพิ่มความมั่นคงขณะยืน.
  • Ambulation Training (การฝึกการเคลื่อนไหว): การฝึกเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุด.
  • Gait Training (การฝึกการเดิน): ท่าทางที่ปลอดภัยและมั่นคงเพื่อการเดินที่แข็งแรงและปลอดภัย.

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness)

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness) เป็นอาการที่ผู้ป่วยมีความลำบากในการใช้กล้ามเนื้อของตนเอง โดยจะมีความลำบากในการทำกิจวัตรประจำวันที่เกี่ยวข้องกับการใช้กล้ามเนื้อ หรือมีความไม่มั่นคงในการทรงตัว ทาง วาริณ เนอร์สซิ่งโฮม มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างครบวงจร โดยทำการประเมินทางกายภาพอย่างละเอียด และปรับแผนการฝึกฝนทางร่างกายและกล้ามเนื้อ เพื่อให้ทราบถึงระดับความพร้อมในการทำกิจกรรมแต่ละประเภทของผู้ป่วยแต่ละบุคคล 

ที่ผ่านมาเราได้มีการติดตามและประสานงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ญาติทราบถึงความคืบหน้าในการดูแล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและการเข้าถึง ไม่เพียงแค่สำหรับตัวผู้ป่วยเอง แต่ยังสำหรับญาติและครอบครัว เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่าพวกเขาได้รับการดูแลที่ครบวงจรและมีคุณภาพ

ตัวอย่างโปรแกรมการฝึก

โดยทุกกิจกรรมของเรา ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดที่รวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • Active Exercise (การออกกำลังกายด้วยตนเอง)
  • Passive Exercise (การออกกายโดยผู้ช่วยเหลือหรือกายภาพบำบัด)
  • Stretching Exercise (การยืดกล้ามเนื้อ)
  • Strengthening Exercise (การออกกายเพื่อเสริมกล้ามเนื้อ)
  • Electrical Stimulation (ES) – การให้กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและส่งผลต่อการทำงานของสมอง
  • Standing Balance Training (การฝึกการทรงตัวขณะยืน)
  • Ambulation Training (การฝึกการเคลื่อนไหวจากที่นั่งไปยังที่อื่น)
  • Gait Training (การฝึกการเดินโดยให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคง)

หลอดเลือดสมอง (Stroke), บาดเจ็บจากไขสันหลัง (Spinal cord Injury) หรือ อุบัติเหตุจากสมอง (Head Injury)

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายๆ ซึ่งต้องบอกเลยว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้นเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญและไม่ควรละเลยเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถขยับร่างกายของตนเอง เมื่อผู้ป่วยติดเตียงนอนอยู่บนเตียงเป็นระยะเวลานานๆ ก็อาจทำให้เกิดภาวะและอาการต่างๆที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น แผลกดทับ การสำลักอาหาร เกิดภาวะสับสน หรือภาวะปอดแฟบ

ที่ วาริณ เนอร์สซิ่งโฮม เราเห็นว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยพนักงานที่มีประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นอย่างดี และเข้าใจผู้สูงอายุติดเตียงที่ถูกต้อง ก็สามารถช่วยป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและความเสี่ยงต่างๆได้

ตัวอย่างโปรแกรมการฝึก

โดยทุกกิจกรรมของเรา ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดที่รวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • Active Exercise (การออกกำลังกายด้วยตนเอง)
  • Passive Exercise (การออกกำลังกายโดยผู้ช่วยเหลือหรือการกายภาพบำบัด)
  • Stretching Exercise (การยืดกล้ามเนื้อ)
  • Strengthening Exercise (การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังและกล้ามเนื้อ)
  • Electrical Stimulation (ES) (กระตุ้นไฟฟ้าเพื่อเพิ่มกำลังและกล้ามเนื้อ)
  • Static Sitting Balance Training (การฝึกการนั่งท่าทีซึ่งปราศจากแรงภายนอก)
  • Dynamic Sitting Balance Training (การฝึกการนั่งท่าที่มีการเคลื่อนไหวและมีแรงภายนอก)
  • Static Standing Balance Training (การฝึกการยืนท่าที่ไม่มีการเคลื่อนไหว)
  • Dynamic Standing Balance Training (การฝึกการยืนท่าที่มีการเคลื่อนไหวและมีแรงภายนอก)
  • Ambulation Training (การฝึกการเคลื่อนไหวจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง)
  • Gait Training with Cane (การฝึกการเดินโดยใช้ไม้เท้า)
  • Gait Training with Yourself (การฝึกการเดินทางตนเอง)
  • Stair Training (การฝึกการเดินขึ้นและลงบันได)

ผู้ป่วยเจาะคอ (Bed ridden with tube) หรือ ผู้ป่วยโรคปอดมีเสมหะเยอะ (Decrease secretion retention)

ที่ วาริณ เนอร์สซิงโฮม เรามุ่งมั่นในการให้การดูแลใกล้ชิดสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ติดเตียงและมีท่อเจาะคอ เรามีทีมพยาบาลและพนักงานที่มีประสบการณ์สูง เพื่อให้คุณและคนที่คุณรักมั่นใจได้ในการทานอาหารและดื่มน้ำอย่างสะดวกสบายและปลอดภัย การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีท่อเจาะคอเรียกว่าการดูแลทางทรวงอก 

เราให้ความสำคัญกับความสะอาดของท่อและบริเวณรอบๆ ท่อ และดำเนินการเปลี่ยนท่อตามคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาล การเคลื่อนท่อนั้นทำอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันการอุดตันและการติดเชื้อ เพื่อให้คุณรู้สึกมั่นใจในการดูแลที่เหมาะสมและปลอดภัยในระยะยาว

ตัวอย่างโปรแกรมการฝึก

โดยทุกกิจกรรมของเรา ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดที่รวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • การออกกำลังกายด้วยตนเอง (Active Exercise)
  • การออกกำลังกายโดยมีผู้ช่วยเหลือ หรือ นักกายภาพบำบัด (Passive Exercise)
  • การฝึกยืดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise)
  • การฝึกการนั่งทรงตัวโดยปราศจากแรงภายนอก (Static Sitting Balance Training)
  • การฝึกการนั่งทรงตัวโดยมีแรงภายนอก (Dynamic Sitting Balance Training)
  • การสั่นปอด (Vibration)
  • การเคาะปอด (Percussion)
  • การดูดเสมหะโดยนักกายภาพบำบัด (Suction by PT)
  • การจัดท่าระบายเสมหะ (Postural Drainage)

ผู้ป่วยที่มีปัญหาการพูด และการกลืน

ที่ วาริณ เนอร์สซิงโฮม เราเน้นการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการพูดและการกลืนอย่างครอบคลุม เช่น จากโรคหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทหรือทางเดินอาหาร การดูแลจะถูกแบ่งและวางแผนอย่างเหมาะสมตามภาวะของผู้ป่วย เช่น การให้คำแนะนำในการฝึกพูดและกลืน การใช้เครื่องมือช่วย และการเลือกอาหารที่เหมาะสม 

การตรวจสอบและดูแลอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสม และเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปด้วย การรักษาจะควรร่วมมือกับครอบครัวของผู้ป่วยและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและส่งเสริมการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ป่วยอย่างเต็มประสิทธิภาพ

ตัวอย่างโปรแกรมการฝึก

โดยทุกกิจกรรมของเรา ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดที่รวดเร็วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้า (Passive Exercise of Face Muscles)
  • การฝึกกระตุ้นการกลืน (Swallowing Rehabilitation)
  • การนวดเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้า (Face Massage for Stimulation)
  • การฝึกพูด ออกเสียง (Speech Program)
  • การกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้าด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation: ES)